วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ IMO




การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ IMO

    IMO เป็นจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่เรามักจะเจอได้ตามใต้ต้นไม้ที่มีหญ้าหรือใบไม้แห้งปกคลุมอยู่ บางคนมักจะพูดว่าแล้วเราจะเสียเวลามาหาหัวเชื้อทำไม ในเมื่อก็มีหัวเชื้อที่กรมพัฒนาที่ดินแจกอยู่แล้ว ตามหน่อยงานเกษตรก็มีแจก ง่ายและไม่ต้องเสียเวลามาหาเชื้อจุลินทรีย์อีก จุลินทรีย์ที่เค้าแจกชื่อย่อ EM ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้ทำการวิจัยและคัดกรองมาอย่างดีมีคุณภาพสูง แต่ส่วนที่ต่างจากจุทรีย์ท้องถิ่ง หรือ IMO คือ มีการปรับตัวและเจริญเติบโตไดดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ดีกว่าจุลินทรีย์ EM จุลินทรีย์ชนิดนี้หาง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ได้หลายรูปแบบ การทำจุลินทรีย์ท้องถิ่นมีหลายวิธีด้วยกัน ผมจะยกตัวอย่างสองวิธีคือ การทำจุลินทรีย์จากใบไผ่ และการทำจุลินทรีย์จากดิน วิธีแรกผมจะสอนการทำจุลินทรีย์จากดินที่อุดมสมบูรณ์ก่อนครับ
    การทำจุลินทรีย์จากดินที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินที่ดีที่อุดมสมบูรณ์แสดงว่าดินนั้นจะต้องมีสิ่งมีชีวิตเล็กที่เป็นประโยชน์ ส่วนมากจะเป็นโยชน์ และดินเหล่านั้นจะต้องเป็นดินที่ไม่เคยผ่านการใช้สารเคมีมาก่อน ดินดีส่วนมากจะเป็นดินที่อยู่ตามป่าเขา สังเกตุง่ายๆครับ เวลาเราเข้าขึ้นเขาสังเกตุดินในป่าเขาดีๆนะครับ ดินที่นั่นจะเป็นสีดำ ร่วนซุย และนุ่มมือ เบา นั่นคือดินดีที่มีจุลินทรีย์อยู่จำนวลมาก ดินเหล่านี้มักจะอยู่ตามใต้ต้นไม้ เราจะนำเอาดินเหล้านั่นมาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ วัสดุที่เราจะนำมาเป็นส่วนผสมทำหัวเชื้อ ก็มี 1.กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1กิโลฯ  2.รำอ่อน 1กิโลฯ 3.ฟางข้าว ใบไผ่ เปลือกถั่ว เป็นต้น 5กิโลฯ  4.น้ำเปล่า 1ลิตร  นำดินที่มีเชื้อจุลินทรีย์และส่วนผสมต่างๆนำมาคลุกเคล้ากัน รำอ่อนเราสามารถเพิ่มบริมาณได้ครับ เพราะรำจะช่วยให้เส้นใยของจุลินทรีย์เดินได้ดี พอคลุกได้ที่แล้ว น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล มาผสมกับน้ำให้เข้ากันแล้วนำมารดบนส่วนผสมแล้วก็คลุกอีกรอบ จากนั้นนำมาใส่ลงในกระสอบเปิดพออากาศถ่ายเทได้ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน เราก็มาเปิดดู สังเกตุจะมีราสีขาวขึ้นเต็ม และจะมีกลิ่นหอมของเชื้อรา ถ้ามีสีดำคือใช้ไม่ได้เพราะเป็นราที่ไม่มีประโยชน์ สีของเส้นใยของราอาจจะไม่ขาวตลอด อาจจะมีสีอื่นบ้าง เช่น อมส้ม อมชมพู บ้าง แต่ต้องไม่เป็นสีดำครับ เป็นอันว่าสำเร็จ เราจะได้เชื้อราแห้งไว้ใช้ เชื้อราแห้งก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนในรูปแบบของเชื้อราน้ำได้ เวลาเก็บก็ง่ายต่อการเก็บและเอามาใช้ การทำเป็นเชื้อน้ำง่ายครับ เรานำเอาเชื้อจุลินทรีย์แห้งที่เราทำไว้ 1กิโลฯ  กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 10กิโลฯ น้ำ 200ลิตร นำกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงมาละลายในน้ำ จากนั้นก็นำ จุลินทรีย์แห้งใส่ลงไปแล้วใช้ไม้คนจากนั้นก็ปิดฝาถังทิ้งไว้ 7วัน การใส่น้ำอย่าให้เต็มมากเกินไปเหลือฟื้นที่จากขอบถังลงไปประมาณ 6-7 เซนฯ พอครบ 7วันให้เปิดดูสังเกตุจากเห็นฝ้าขาวๆลอยอยู่ และกลิ่นก็จะหอมด้วย ถ้ากลิ่นยังไม่หอมหรือยังไม่มีฝ้าให้เติมน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลงไปอีก ถ้าเกิดฝ้าขาวและมีกลิ่นหอม ก็ให้นำรำอ่อนมาโรย ประมาณ2-3กำมือ จากนั้นก็คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1เดือนก็สามารถนำมาใช้ได้แล้ว และสามารถนำไปต่อยอดได้ครับ ด้วยการนำไปหมักกับ ผัก ผลไม้ หรือสูตรหนักน้ำยาไล่แมลงได้ครับ 
    อีกวิธี การทำจุลินทรีย์จากใบไผ่ วัสดุที่ต้องเตรียม ข้าวหุงสุก กะบะไม้ กว้าง ยาว 30เซนฯ สูง 10เซนฯ ผ้าขาวบางๆหรือกระดาษที่อากาศสามารถถ่ายเทได้ น้ำตาลทรายแดง เชือกฟาง ขวดโหล วิธีทำ เราตักข้าวที่หุงสุกแล้วอย่าร้อนนะครับข้าวต้องเย็นแล้ว ใส่ลงในกระบะที่เราเตรียมไว้จากนั้นก็ใช้ผ้าขาวบางคลุมกะบะไว้แล้วใช้เชือกมัด นำไปวางไว้บริเวณใต้ต้นไผ่ที่มีใบไผ่ปกคลุมหนาๆ สังเกตุง่ายๆใต้ใบไผ่ที่ปกคลุมอยู่จะมีเส้นใยขาวๆเดินอยู่นั้นเป็นเส้นใยของเชื้อจุลินทรีย์ที่เราต้องการ พอวางกะบะที่ใส่ข้าวหุงลงแล้วจากนั้นก็นำใบไผ่มาถมทับไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ไปเปิดดูก็จะเห็นราขาวขึ้นเต็ม ถ้าเป็นสีดำคือใช้ไม่ได้ครับ จากนั้นเราก็นำราขาวที่ได้มาขยำให้เละ จากนั้นก็นำน้ำตาลทรายแดงเทลงผสมคลุกเข้าด้วยกันเสร็จแล้วก็ใส่ลงในขวดโหลเก็บไว้ ประมาณ5-7วัน เราก็จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์มาใช้หละ เราสามารถนำมาหมักกับผักผลไม้ได้ตามสูตรตามต้องการ นำไปผสมกับน้ำผสมกับกากน้ำตาลหมักทิ้งไว้ 7-15วัน นำไปรดคอกหมูคอกวัวควายดับกลิ่นได้ดีมาก แค่นี้เราก็ได้จุลินทรีย์ที่มีคุณภาพมาใช้เองแล้วครับ ง่ายๆ